PDPlus - Movement Diary 12+

Chulalongkorn Centre of Excellence for Parkinson's Disease & Related Disorders

Diseñada para iPad

    • Gratis

Capturas de pantalla

Descripción

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease, PD) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท ซึ่งจะส่งผลให้สารโดปามีนในสมองลดลง สารนี้มีความสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ แสดงออกเป็นลักษณะที่สำคัญของผู้ป่วยพาร์กินสันเช่น
- อาการสั่น
- อาการแข็งเกร็ง
- อาการเคลื่อนไหวช้าหรือเคลื่อนไหวน้อย
- การทรงตัวที่ไม่มั่นคง
- ปัญหาการเดินติดขัด

เมื่อผู้ป่วยเป็นพาร์กินสันระยะเวลานานๆ อาจจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาทางยาหรือมีปัญหาการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ เช่น ยาหมดฤทธิ์ก่อนกำหนด, อาการยุกยิก และยาออกฤทธิ์ช้าหรือยาไม่ออกฤทธิ์ นอกจากนั้นเมื่อผู้ป่วยรับการรักษาด้วยยาเป็นระยะเวลานานยังส่งผลให้ได้รับผลข้างเคียงจากยา เช่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน, ยุกยิก, เห็นภาพหลอน, หูแว่ว ได้

การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้ป่วยและญาติ ซึ่งบางครั้งการอธิบายว่ายาที่รับประทานอยู่ให้ผลการรักษาที่พึงพอใจมากน้อยเพียงใดอาจจะยากที่จะอธิบายด้วยวาจาเปล่าๆ –– การจดบันทึกผลการรักษารวมทั้งผลข้างเคียงจากการใช้ยาไว้ จะช่วยให้แพทย์สามารถดูแลการรักษาโรคให้ดีขึ้น สำหรับการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้กันคือบันทึกประจำวันของผู้ป่วย (Patient’s diary) ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจดบันทึกยาที่ต้องกินในแต่ละวัน ผลจากการใช้ยา รวมถึงอาการข้างเคียงต่างๆไว้ ทำให้แพทย์สามารถปรับขนาดยาในการรักษาให้เหมาะสมได้ดีขึ้น

แต่การใช้บันทึกประจำวันของผู้ป่วยยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เช่น
- ผู้ป่วยจำเป็นต้องการจดบันทึกตลอดเวลา อาจทำให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่เต็มที่
- ต้องพกสมุดบันทึกติดตัว สมุดมีโอกาสชำรุดหรือสูญหาย
- ผู้ป่วยบางคนเบื่อการจดบันทึก และหยุดบันทึก ทำให้เก็บข้อมูลไม่ครบถ้วน
- ข้อมูลยาในสมุดอาจบันทึกผิดพลาดไม่ตรงกับที่แพทย์สั่ง
- รวมถึงข้อจำกัดในส่วนของแพทย์ ที่จะประเมินจากสมุดบันทึกได้ลำบากหากมีปริมาณข้อมูลที่จดบันทึกไว้มาก รวมถึงอาจมีความลำบากในด้านการประเมินข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจวางแผนการรักษาต่อเนื่อง

ในปัจจุบันโรคพาร์กินสันยังรักษาให้หายขาดไม่ได้ และยังไม่มีวิธีที่จะวินิจฉัยโรคก่อนจะเกิดอาการแสดงขึ้นมา ในปัจจุบันงานวิจัยใหม่ๆจำนวนมากพยายามจะหาวิธีที่จะวินิจฉัยโรคพาร์กินสันให้เร็วขึ้นก่อนที่จะมีอาการแสดงชัดเจน เพื่อหายาหรือการรักษาอื่นที่สามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคได้บ้าง ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิและโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศมีพันธกิจเป็นผู้คิดค้น วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านโรคพาร์กินสันและกลุ่มความเคลื่อนไหวผิดปกติ ในระดับประเทศและนานาชาติ หากมีเครื่องมือที่จะสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณมากที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงช่วยในการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีความน่าเชื่อถือจะนำไปสู่การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาได้อีกเป็นจำนวนมาก

แอพพลิเคชั่น PDPlus หรือ Parkinson Plus ถูกจัดสร้างและได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ หน่วยประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะมาช่วยเหลือผู้ป่วยในจุดนี้อย่างเป็นระบบและเป็นองค์รวม แอพพลิเคชั่นนี้ทำหน้าที่เป็นบันทึกประจำวันของผู้ป่วยแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านการใช้อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยมีอยู่กับตัวตลอดเวลา คือโทรศัพท์สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องการจดบันทึกไม่ครบ สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ครบถ้วน รวมถึงเป็นตัวกลางนำข้อมูลมาวิเคราะห์และแปลผลอย่างทันทีทันใด สามารถนำเสนอเป็นข้อมูลที่สรุปแล้วให้กับทั้งผู้ป่วยและแพทย์เพื่อนำไปใช้ในทางคลินิกได้ทันที ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยได้มากขึ้น ลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับการใช้ยาและปัญหาของการตอบสนองต่อยาต่างๆได้อย่างมาก และมีฟังก์ชั่นเสริมเป็นการเตือนการกินยา และการทำแบบทดสอบเพื่อเก็บข้อมูลวิเคราะห์ลักษณะของผู้ป่วยแต่ละคนแบบจำเพาะบุคคล เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้อย่างดีที่สุด

รายละเอียดคุณลักษณะภายในโปรแกรม (Features):
- การจัดเก็บบันทึกข้อมูลของสถานะ On / Off / Dyskinesia แบบเรียล์ไทม์
- ฟังก์ชั่นเตือนกินยา
- ตารางสรุปยาที่ใช้
- กราฟสรุปการใช้งานในแต่ละวัน รวมถึงสรุปการกินยา
- ข้อมูลแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน
- แบบทดสอบต่าง ๆ เพื่อการวิเคราะห์อาการและเก็บข้อมูลวิจัย

แอพพลิเคชั่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ หน่วยประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หากท่านสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านทาง line id: ChulaPD ได้

Novedades

Versión 1.0.3

Bug fixes and data validation

Privacidad de la app

El desarrollador (Chulalongkorn Centre of Excellence for Parkinson's Disease & Related Disorders) indicó que, entre las prácticas de privacidad de la app, pueden incluirse el manejo de datos que se describe a continuación. Para obtener detalles, consulta la política de privacidad del desarrollador.

Datos no asociados con tu identidad

Los siguientes datos pueden recopilarse, pero no están asociados con tu identidad:

  • Diagnóstico

Las prácticas de privacidad pueden variar; por ejemplo, según tu edad o las funciones que uses. Obtén detalles

Quizás te interese

PD Me Tools
Salud y forma física
Rhythm - Parkinson's Gait App
Salud y forma física
ไทยสุข ThaiSook
Salud y forma física
SAANSOOK
Salud y forma física
PD-Aware
Salud y forma física
Flytta
Salud y forma física